วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ผลไม้ของไทย

ผลไม้ภาคอีสาน
           วันนี้จะขอแนะนำให้ รู้จักกับ "ผลไม้พื้นบ้านของภาคอีสาน"  ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในแถบภาคอีสาน โดยผลไม้เหล่านี้สามารถกินได้ บางอย่างที่ภาคอื่นก็มีเหมือนกัน เพียงแต่อาจจะเรียกชื่อต่างกันเท่านั้นเอง
 อนึ่ง  คนอีสานนิยมใช้คำว่า "บัก" หรือ "หมาก" สำหรับเรียกชื่อผลไม้หรือผักต่างๆ เช่น  แตงโม  อาจจะเรียกว่า "หมากโม" หรือ "บักโม" ก็ได้  แล้วแต่ความชอบใจ
 ผลไม้ที่นำมาแนะนำให้รู้จักวันนี้ ทางภาคอื่นจะเรียกอย่างไรบ้างนั้น ขอให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละภาคได้โปรดแนะนำหรือบอกกล่าวให้ทราบด้วยนะครับ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
 ช่วงเวลานับตั้งแต่นี้ไป   ขอเชิญเพื่อนๆ ทุกท่านได้พบกับ "ผลไม้พื้นบ้านของภาคอีสาน" ได้เลย ณ บัดนาว   แอน แอ่น แอ๊น














ที่มา:http://www.gotoknow.org/posts/451993

ผลไม้ภาคเหนือ

กีวี่ฟรุต

กีวีฟรุต มีถิ่นกำเนิด ในประเทศจีน แต่มา ได้รับความสำเร็จ ในการปลูก เป็นการค้า ใหญ่โต ที่ประเทศ นิวซีแลนด์ ถึงกับใช้ชื่อใหม่ว่า กีวีฟรุต (kiwi fruit) ซึ่งเป็น ฉายา ของประเทศ นิวซีแลนด์ นั่นเอง เป็น ผลไม้ชนิดเถา เลื้อยต้อง ใช้ค้าง คล้ายกับการปลูกองุ่นผล หน้าตา แปลกคือสีน้ำตาล มีขนปกคลุม ทั่วทั้งผล แต่เนื้อ ในมีสีเขียว และมีเมล็ด เล็ก ๆ สีดำ กระจายอยู่ ทั่วทั้งผล แต่เนื้อในมีสีเขียว และมีเมล็ด เล็ก ๆ สีดำ กระจาย อยู่ทั่วไป สวยงามมาก จึงมักนิยม ใช้ประดับ หน้าขนม หรือแต่งจาน สลัด ไอศกรีม ฯลฯโครงการหลวง ได้ทำการ วิจัยการปลูก กีวีฟรุต มาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 พบว่ากีวี ฟรุตต้อง การอากาศ หนาวเย็น ค่อนข้างมาก ขณะนี้ ปลูกได้ดี ที่สถานีเกษตร หลวงอ่างขาง และกำลัง แนะนำส่งเสริม ให้ชาวเขา ปลูก เป็นพืช เศรษฐกิจ ต่อไป 
ท้อ

เรารู้จัก ท้อป่า หรือ ท้อพื้นเมือง กันมานาน แล้ว เป็นท้อ ที่ชาวเขา และจีน ฮ่อนำเข้า มาจากทางตอนใต้ ของประเทศจีน โครงการหลวง ได้ริเริ่ม นำท้อพันธุ์ดี หรือท้อฝรั่ง เข้ามาทดลอง เป็นจำนวนมาก และได้ คัดพันธุ์ที่ดี แนะนำให้ ชาวเขาปลูก ท้อพันธุ์ดี จะมีผลใหญ่ เนื้อมาก หวานฉ่ำ ใช้รับประทานสด หรือทำเป็น ลอยแก้ว ได้ดี ผิดจากท้อ พื้นเมือง ซึ่งต้องใช้ ดองหรือ แปรรูป เท่านั้นท้อพันธุ์ดี ที่แนะนำ ให้ปลูก อยู่ในขณะนี้ ได้แก่ Earli Grande, Flordabelle และ Flordasun ฤดูท้อสุก จะอยู่ใน ช่วงเดือน มีนาคม ถึง พฤษภาคม 

บ๊วย
ได้มี การปลูกบ๊วย กันมานาน พอสมควร แล้ว ที่จังหวัด เชียงราย แต่เป็นบ๊วย ที่มีคุณภาพ ไม่ค่อยดี ต่อมา โครงการหลวง ได้นำพันธุ์ดี มาจากไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นจำนวนมาก และได้ คัดเลือก พันธุ์ที่ดี ไว้หลายพันธุ์ บ๊วย เป็นไม้ผล ที่ปลูกง่ายและ ไม่ต้อง ดูแลรักษา มากนัก จึงเหมาะ สำหรับชาวเขา โดยทั่วไป ขณะนี้ ในปีหนึ่ง ๆ มีผลผลิต หลายสิบตัน ซึ่งพ่อค้า มีความต้องการมาก และความต้องการ ของตลาด ยังมีอีกมาก นับว่า เป็นไม้ผล ที่เหมาะ ในการบุกเบิก ให้ชาวเขา สนใจ ที่จะทำสวน ผลไม้ และ จะก้าวหน้า ไปสู่ การปลูก ไม้ผล อื่น ๆ ได้ ต่อไป ในอนาคตบ๊วย จะแก่เก็บ ได้ในเดือน มีนาคม ถึงเมษายน ซึ่งโรงงาน จะนำไปแปรรูป เป็นบ๊วยดอง บ๊วยเค็ม และ ผลิตภัณฑ์ จาก บ๊วยอื่น ๆ 

พลับ
คนไทย รู้จักพลับแห้ง ซึ่ง ส่งมาขาย จากประเทศจีน ตั้งแต่ สมัยโบราณ แล้วต่อมา ก็นิยมพลับสด จากจีน ที่มีเนื้อ และเมื่อสุก เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งกลับ เนื้อกรอบ มาขาย คนไทย ก็เปลี่ยนรสนิยม ไปชอบพลับกรอบ ได้อีก นับว่า เป็นผลไม้ ที่คนไทย ชอบมาก อย่างหนึ่ง จึงมีคน พยายามปลูก มานานแล้ว ทางจังหวัด ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น แต่ สมัยนั้น ไม่ค่อยมีพันธุ์ ที่ดี การทำสวนพลับ จึงไม่ค่อย ก้าวหน้า ต่อมา โครงการหลวง ได้นำพันธุ์พลับ จากไต้หวัน และประเทศอื่น ๆ เข้ามา ทดลอง และ ประสบผลสำเร็จ เป็นอย่างดี ขณะนี้ เรามีพันธุ์ ที่เหมาะสำหรับ ทำแห้ง และสำหรับ รับประทานสด หลายพันธุ์ และชาวเขา ได้ทำสวนพลับ และได้ รายได้มาก เป็นที่น่า พอใจฤดูเก็บเกี่ยว จะอยู่ ระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน และ สามารถเก็บไว้ ในห้องเย็น ได้นาน หลายเดือน ทำให้ มีระยะเวลา ในการขาย สะดวกกว่า ผลไม้ อีกหลายอย่าง 

พลัม
พลัม เป็นผลไม้ อีกชนิดหนึ่ง ที่ โครงการหลวง ได้ทำการ วิจัย จนประสบผลสำเร็จ เป็นอย่างดี ในสมัยก่อน มีการนำเข้า มาจากเมืองจีน เรียกกันว่า ลูกไหน ซึ่งเป็นพลัม ที่คุณภาพ ไม่ดีนัก ตามดอยต่าง ๆ บางที จะพบพลัมผล ขนาดเล็ก ปลูกกัน อยู่บ้าง เป็นพลัม ที่จีนฮ่อ นำเข้ามา พลัม ที่โครงการหลวง แนะนำให้ปลูก อยู่ในขณะนี้ บางพันธุ์ เช่น พันธุ์ Gulf Ruby จะมีขนาดใหญ่ และรสดี นอกจาก ใช้รับประทานสด แล้ว ยังใช้ แปรรูป ได้ดี อีกด้วย พลัม จะสุก ใกล้เคียง กับ ท้อ คือประมาณเดือน พฤษภาคม
รัสพ์เบอรี่ 

ได้มี การทดลอง ปลูก รัสพ์เบอรี่ กันมานาน พอสมควร แล้ว แต่โครงการหลวง ได้ทำการวิจัย อย่างจริงจัง เมื่อ พ.ศ. 2522 จนได้ ผลสำเร็จ และสามารถ ส่งเสริม ให้ปลูกได้ ในขณะนี้ รัสพ์เบอรี่ เป็นไม้เลื้อย ต้องมีค้าง ให้เกาะ พยุงต้น ผล เป็นช่อ มีกลิ่นหอมจัด เป็นพืช ในจำพวกเดียวกับ สตรอเบอรี่ คือรับประทานสด หรือแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ทำแยม อร่อยมาก และทำ ขนมต่างๆ ได้อร่อยดี 

สตรอเบอรี่

สตรอเบอรี่ ในประเทศ มีประวัติ ความเป็นมา ยาวนาน คือ มีการนำพันธุ์ เข้ามา ทดลอง ปลูกหลาย ยุคหลาย สมัยทางภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ จนกระทั่ง ได้พันธุ์ ที่เหมาะสม สามารถ ปลูกได้ ทั่วไปใน บริเวณ ตัวเมือง เชียงใหม่ และเขตชานเมือง แต่พันธุ์ ในสมัยนั้น มีข้อสีย คือผล ชอกช้ำ ง่าย ทำให้ ขนส่งไปขาย ในที่ไกล ๆ ไม่ได้ โครงการหลวง ได้นำพันธุ์ใหม่ ๆ เข้ามา มากมายหลายพันธุ์ และคัดพันธุ์ได้ พันธุ์ คือ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทาน ต้นพันธุ์สตรอเบอรี่ ทั้ง พันธุ์นี้ แก่เกษตรกร ที่หมู่บ้าน ช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2515 และเกษตรกร รู้จักกัน ในนามพันธุ์ พระราชทาน เบอร์ 13,16 และ 20 ตาม ลำดับต่อมา จนถึงขณะนี้ สตรอเบอรี่ ได้กลายเป็น ผลไม้ ที่สำคัญมาก อย่างหนึ่ง ของภาคเหนือ สามารถ ส่งออกได้ ในลักษณะ สตรอเบอรี่ แช่แข็ง และ ทำเงิน เข้าประเทศ ได้เป็น จำนวนมาก ตลาดในประเทศ ก็กว้างขวาง มาก เพราะใช้ ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้ง รับประทานสด และแปรรูป 

สาลี่

สาลี่มี ประเภทใหญ่ ๆ คือสาลี่ฝรั่ง (European pear) ซึ่งมีเนื้อนุ่ม และสาลี่จีน (Chinese หรือ Oriental pear) ซึ่งมีเนื้อกรอบ คนไทยนิยม สาลี่จีน มากกว่า เพราะ มีความคุ้นเคย กับสาลี่ ประเภทนี้ มานาน สาลี่พันธุ์ดี ๆ จะมีเนื้อกรอบ แต่ฉ่ำและหวาน หอมชื่นใจสาลี่ ต้องการ ความหนาวเย็น พอควร แต่ปลูก ไม่ยาก เท่าแอบเปิ้ล และมีพันธุ์ ที่ได้มาจาก ไต้หวัน เช่น พันธุ์ Yokoyama wase, Pien Pu, Xiang Sui และ Sung-maoสาลี่ จะสุก ประมาณ เดือน กรกฎาคม ถึง สิงหาคม และ จะขาย ได้ดี ในช่วงสารทจีน จึงนับว่า เป็นผลไม้ ที่มี ตลาดที่ดี อีกอย่างหนึ่ง

แอปเปิ้ล

 แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ ยอดนิยม ของคนไทย มานานแล้ว และ ในขณะนี้ เราก็ยัง ต้องสั่ง เข้ามาขาย เป็นจำนวนมาก ในแต่ละปี แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ ที่ชอบ อากาศหนาว และต้องการการ ดูแลรักษา อย่างดี ในการปลูก จึงทำให้ ขยาย พื้นที่ ปลูกได้ค่อนข้าง ช้า แต่คาดว่า คงจะเป็น ผลไม้เศรษฐกิจ ของที่สูงได้ ในอนาคต เนื่องจาก ไม่มีปัญหา ในด้าน การตลาด เลยพันธุ์ที่ส่งเสริม ให้ปลูกคือ Anna และ Ein Shemer ซึ่งเป็นพันธุ์ ที่ไม่ต้องการ อากาศหนาว มากนัก ฤดูเก็บเกี่ยว จะอยู่ในช่วง เดือนมิถุนายน
ที่มา:http://fruitthaii.wordpress.com

ผลไม้ภาคกลาง

ส้มโอ


ส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม (ผลไม้) มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ย มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู) มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก pampelmoose ซึ่งแปลตรงตัวว่า ส้มที่ลูกเท่า แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจ

พันธุ์ส้มโอ

แหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญในประเทศไทยแต่เดิมมีสองแหล่งคือ อำเภอนครชัยศรีเป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวแป้น และบางปะกอกในเขตธนบุรี” แหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวพวง ในปัจจุบัน พันธุ์ส้มโอที่เป็นที่นิยมปลูกทางการค้าได้แก่
·         พันธุ์ทองดี ผลโต กลมแป้น ไม่มีจุก ที่ขั้วมีจีบเล็กน้อย รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อสีชมพู เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกที่จังหวัดนครปฐม
·         พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ผลใหญ่ กลมสูง ก้นเรียบ
·         พันธุ์ขาวใหญ่ เนื้อเป็นสีครีมอ่อน นิยมปลูกที่จังหวัดสมุทรสงคราม
·         พันธุ์ขาวพวง ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง มีเมล็ดน้อย เป็นพันธุ์ดั้งเดิม
·         พันธุ์ขาวแตงกวา ผลขนาดกลาง กลมแป้น เปลือกบาง เนื้อสีขาว นิยมปลูกที่ จังหวัดชัยนาท
·         พันธุ์ท่าข่อย เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่จังหวัดพิจิตร” จังหวัดพิจิตร
·         พันธุ์ปัตตาเวีย ปลูกมากทางภาคใต้

มะม่วง

มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผล เมืองร้อนประมาณ 35 สปีชีส์ ในวงศ์ไม้ดอก nacardiaceae เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ รองจากฟิลิปปินส์ และแม็กซิโก

ลิ้นจี่ 

ลิ้นจี่ เป็นชื่อของผลไม้ประเภทผลเดี่ยวซึ่งมีลักษณะเปลือกสีแดงชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE (ซึ่งก็คือวงศ์เดียวกับเงาะ และลำไย นั้น เอง) ลิ้นจี่นั้นเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุนจึงถือว่า เป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่าย ในรูปของผลไม้สดและผลไม้แปรรูป ปัจจุบันนี้ลิ้นจี่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายขึ้นเรื่อยๆจาก สายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว

ลิ้นจี่ถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์จีน โดยเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจง” ทรงบัญชาให้ทหารม้า นำลิ้นจี่จากแหล่งปลูกทางตอนใต้ของจีน เดิินทางข้ามวันข้ามคืนมาถวายที่ปักกิ่ง

ทุเรียน

ทุเรียนเป็นที่รู้จักและบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ในโลกตะวันตกทุเรียนกลับเป็นที่รู้จักมาเพียง 600 ปี แรกสุดชาวยุโรปรู้จักทุเรียนจากบันทึกของ นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ผู้ที่เข้าไปท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การ์เซีย เดอ ออร์ต้า (Garcia de Orta) แพทย์ชาวโปรตุเกส ได้บรรยายถึงทุเรียนใน Colóquios dos Simples e Drogas da India (การสนทนาทั่วไปเกี่ยวกับยาจากอินเดีย) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2106 ใน Herbarium Amboinense (พรรณไม้จากอองบง) ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน เกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ (Georg Eberhard Rumphius) ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2284 มีหัวข้อเกี่ยวกับทุเรียนที่มีรายละเอียดมาก สกุลทุเรียน (Durio) มีอนุกรมวิธาน ที่ซับซ้อน เห็นได้จากการลบและการเพิ่มพืชหลาย ๆ ชนิดลงไปในสกุลนี้ตั้งแต่โดยรัมฟิออซตั้งสกุลทุเรียนขึ้นมา ช่วงแรกในการศึกษาอนุกรมวิธานของทุเรียนนั้น มีความสับสนระหว่างทุเรียนและทุเรียนเทศ” เป็นอย่างมากซึ่งผลของทั้งสองชนิดนี้เป็นผลไม้สีเขียวมีหนามเหมือนกัน มีบันทึกที่น่าสนใจที่ว่าชื่อภาษามาเลย์ของทุเรียนเทศคือ durian Belanda (ดูริยัน บะลันดา) ซึ่งแปลว่า ทุเรียนประเทศเนเธอร์แลนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โยฮันน์ อานทอน ไวน์มานน์ (Johann Anton Weinmann) ได้พิจารณาทุเรียนไปเป็นสมาชิกของวงศ์ เกาลัด” ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับกระจับม้า

พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย

พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทยสามารถจำแนกออกได้เป็น กลุ่ม ตามลักษณะรูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงผล และรูปร่างของหนาม คือ
1.  กลุ่มกบ จำแนกพันธุ์ได้ 46 พันธุ์ เช่น กบตาดำ กบทองคำ กบวัดเพลง กบก้านยาว
2.  กลุ่มลวง จำแนกพันธุ์ได้ 12 พันธุ์ เช่น ลวงทอง ชะนี สายหยุด ชะนีก้านยาว
3.  กลุ่มก้านยาว จำแนกพันธุ์ได้ พันธุ์ เช่น ก้านยาว ก้านยาววัดสัก ก้านยาวพวง
4.  กลุ่มกำปั่น จำแนกพันธุ์ได้ 13 พันธุ์ เช่น กำปั่นเหลือง กำปั่นแดง ปิ่นทอง หมอนทอง
5.  กลุ่มทองย้อย จำแนกพันธุ์ได้ 14 พันธุ์ เช่น ทองย้อยเดิม ทองย้อยฉัตร ทองใหม่
6.  กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่จำแนกลักษณะพันธุ์ได้ไม่แน่ชัด มีอยู่ถึง 81 พันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากมี พันธุ์ คือ หมอนทอง (D159), ชะนี (D123), ก้านยาว (D158), และ กระดุม ซึ่งมีลักษณะดังนี้
·         พันธุ์กระดุม ผลจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก น้ำหนักประมาณ กิโลกรัม ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมด้านหัวและด้านท้ายผลค่อนข้างป้าน ก้นผลบุ๋มเล็กน้อย หนามเล็กสั้นและถี่ ขั้วค่อนข้างเล็กและสั้น ลักษณะของพูเต็มสมบูรณ์ ร่องพูค่อนข้างลึก เนื้อละเอียดอ่อนนุ่มสีเหลืองอ่อน เนื้อค่อนข้างบาง รสชาติหวานไม่ค่อยมัน เละง่ายเมื่อสุกจัด เมล็ดมีขนาดใหญ่
·         พันธุ์ชะนี (D123) ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ น้ำหนักประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม ผลมีรูปทรงหวด กล่าวคือ กลางผลป่อง หัวเรียว ก้นตัด ร่องพูค่อนข้างลึกเห็นได้ชัด ขั้วผลใหญ่และสั้น เนื้อละเอียด สีเหลืองจัดเกือบเป็นสีจำปา ปริมาณมาก รสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็กและมีจำนวนเมล็ดน้อย
·         พันธุ์หมอนทอง (D159) ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ทรงผลค่อนข้างยาวมีบ่าผล ปลายผลแหลม พูมักไม่ค่อยเต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กวางแซมอยู่ทั่วไป ซึ่งเรียกหนามชนิดนี้ว่า เขี้ยวงู ก้านผลใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงจะอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก เนื้อหนาสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะติดมือ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่
·         พันธุ์ก้านยาว (D158) ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักประมาณ กิโลกรัม ทรงผลกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู หนามเล็กถี่สั้นสม่ำเสมอทั้งผล ก้านผลใหญ่และยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื้อละเอียดสีเหลืองหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมากค่อนข้างใหญ่

ลำไย



ลำไย  มีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่าNephelium ,Canb.หรือEuphorialongana,Lamk.วงศ์Sapedadceaeทีน(Native)ในพื้นที่ราบต่ำ ของลังกาอินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน

พันธุ์ลำไย

ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง ๒๖ พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง ๑๒ สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก ๑๕ สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี ๑ สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ พวก คือ
·         ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์คือ
·         สีชมพู ผลใหญ ่เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพู รสดีมากที่สุด
·         ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง
·         เบี้ยวเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แต่พันธุ์หนักร่องเก่ง
·         อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดงกับอีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว
·         อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ ่เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คืออีแดงเปลือกหนา มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่ กับอีแดงเปลือกบาง ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา
·         อีดำ ผลใหญ่ ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน
·         ลำไยกระดูก เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ ๑๓.๗๕% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา
·         ลำไยธรรมดา ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก
·         ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก
·         ลำไยเถาหรือลำไยเครือ มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าแถบภูเขาบรรทัด ภูเขาดงเล็ก ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก

ที่มา:http://fruitthaii.wordpress.com